5 ข้อควรรู้เกี่ยวกับการสร้างบ้านหลังแรก

ชมเพิ่มเติม.. รอบรู้เรื่องบ้าน, แนะนำ
เรื่องนี้เกี่ยวกับ , , , , , , . Bookmark the permalink.


ที่อยู่อาศัยเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่เป็นสิ่งจำเป็นของมนุษย์ทุกคน แต่ละคนก็มีที่อยู่อาศัยในรูปแบบแตกต่างกันไป บางคนอาจจะยังพักบ้านเช่า เช่าหอ เช่าคอนโด ซึ่งก็ไม่ผิดหากยังเช่าที่พักอยู่ เพราะแต่ละคนมีเหตุผลและข้อจำกัดแตกต่างกันไป เช่น เรื่องของสถานที่การทำงานที่จำเป็นต้องโยกย้ายบ่อยๆ หรือมีแผนที่จะย้ายกลับบ้านเกิดในอนาคต หรือบางคนอาจจะเอาเงินไปลงทุนอย่างอื่น หรือบางคนอาจจะมีข้อจำกัดของรายได้และค่าใช้จ่ายต่างๆ ซึ่งการเช่าที่พักก็เป็นทางเลือกที่เหมาะสม แต่หลายๆคนรวมทั้งผู้เขียนเองก็มีความคิดว่าซักวันหนึ่งคนเราก็น่าจะอยากมีบ้านเป็นของตัวเองซักหลังหนึ่ง อาจจะเป็นในรูปแบบของคอนโด ทาวน์โฮม หรือบ้านเดี่ยว ซึ่งการมีบ้านหลังแรกของตัวเองนั้นก็มีทางเลือกอยู่ 2 แบบหลักๆ คือ แบบแรกคือการซื้อบ้านจากโครงการบ้านจัดสรร หรืออีกแบบคือการสร้างบ้านเอง ซึ่งวันนี้โฮมดีดี (homedd4u.com) มีข้อควรรู้เกี่ยวกับการสร้างบ้านหลังแรกมาให้เพื่อนๆผู้อ่านในเป็นแนวทางกันว่า เราควรจะรู้อะไรบ้างเมื่อจะสร้างบ้านหลังแรก

2-bedroom-charming-natural-ambiance-house-1
1. แบบบ้าน

smallworks-elegant-cottage-floorplan-via-smallhouseblissแบบบ้านเป็นเสมือนตัวชี้วัดหลายๆอย่าง โดยเฉพาะเรื่องของงบประมาณ หรือแม้แต่เรื่องของความชื่นชอบของเจ้าของบ้าน ดังนั้นการเลือกแบบบ้านควรคำนึงถึงงบประมาณเป็นหลัก อย่าเอาความอยากเป็นตัวตั้ง เดี๋ยวงบจะบานปลายครับ ซึ่งการออกแบบบ้านนั้นก็ทำได้สองแบบคือ การกำหนดความต้องการคร่าวๆแล้วจ้างผู้ออกแบบทำการออกแบบให้ หรือการซื้อแบบบ้านสำเร็จรูปเพื่อนำมาใช้งานได้เลย ซึ่งทั้งสองวิธีนี้จำเป็นต้องมีวิศวกรโยธาเซ็นต์แบบบ้านด้วย ถึงจะสามารถนำมาก่อสร้างได้ตามหลักการ ซึ่งมีความสำคัญต่อเรื่องของการควบคุมวัสดุที่ใช้ เพราะในแบบบ้านจะระบุไว้ชัดเจนทั้งความกว้าง ความยาว ความสูง รวมไปถึงวัสดุที่ควรใช้

2. ผู้รับเหมา

ผู้รับเหมาสร้างบ้านนั้นมีส่วนสำคัญมากในการสร้างบ้าน หากเลือกผู้รับเหมาผิดขึ้นมารับรองว่าเครียดยันลูกบวช 55+ ทำไมผมถึงบอกแบบนั้นครับ บางคนอาจจะมองว่าก็น่าจะเครียดเฉพาะช่วงก่อสร้างบ้าน แต่ลองนึกดูว่าหากผู้รับเหมาไม่มีความซื้อสัตย์ต่ออาชีพหวังแต่จะฟันกำไรเกินควร สร้างบ้านไม่ได้เป็นไปตามแบบบ้าน ตัดบางส่วน แอบลักไก่ ใช้วัสดุไม่มีคุณภาพ ด้วยวิธีการต่างๆ ผลของสิ่งเหล่านี้อาจจะส่งผลไปถึงอนาคต ที่เจ้าของบ้านต้องตามซ่อม ตามแก้ไข ผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นเหล่านี้ได้ ….. หรือแม้แต่ในระหว่างการสร้างบ้าน ผู้รับเหมาที่ไม่มีความรับผิดชอบ ทิ้งงาน เบิกก่อนล่วงหน้า งานไม่เดินตามเป้า อันนี้เป็นปัญหายิบย่อยที่ต้องเตรียมรับมือครับ ดังนั้นสิ่งที่ควรนำมาเป็นปัจจัยในการเลือกผู้รับเหมา ควรเลือกจากเหตุผลประมาณนี้ครับ

– ดูผลงานย้อนหลัง อาจจะสืบเสาะจากลูกค้าที่ผ่านมา หรือดูชื่อเสียงเรียงนามว่ามีความน่าเชื่อถือหรือไม่ หรืออาจจะค้นจากอินเทอร์เน็ตเพื่อดูริวิวก็สามารถทำได้ครับ
– การแนะนำจากคนที่ไว้ใจ ข้อนี้หมายถึงว่าหากเรามีผู้ใหญ่ที่เราไว้ใจเชื่อใจได้ แนะนำมา หรือเพื่อนฝูงแนะนำมาก็พอจะเลือกได้ครับ
– ความน่าเชื่อถืออื่นๆ เช่น บริษัทที่ว่าจ้างมีความเป็นมานานแล้วหรือยัง ผลงานที่นำมาอ้างอิง เป็นต้น
– ความเป็นมืออาชีพ อาจจะดูจากขั้นตอนวิธีในการคุยงาน มีระเบียนแบบแผนและกระบวนการในการรับงานเป็นแบบไหน มีการทำสัญญาตามขั้นตอน ระบุการเบิกจ่ายชัดเจน เป็นต้น

3. ราคาก่อสร้าง

%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%aa%e0%b8%94%e0%b8%b8%e0%b8%81%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%aa%e0%b8%a3%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%95%e0%b8%b5%e0%b8%9b%e0%b8%b5%e0%b8%81%e0%b8%aa%e0%b9%88%e0%b8%87%e0%b8%ad

หลังจากที่ได้ผู้รับเหมาก่อสร้างแล้วการกำหนดราคาหรือตกลงราคาก่อสร้างก็เป็นขั้นตอนที่สำคัญ ต้องคุยกับผู้รับเหมาให้ละเอียด ซึ่งการกำหนดราคานั้นก็แยกเป็นสองแบบ คือ ราคาที่รวมทั้งวัสดุและค่าแรง หรือราคาเฉพาะค่าแรง ซึ่งทั้งสองแบบก็มีข้อดี-ข้อเสียแตกต่างกันไป คือ ถ้ารวมวัสดุด้วยเลยเราก็จะรู้งบที่ใช้ชัดเจนไม่บานปลายแน่นอน ยกเว้นไปเพิ่มเติมทีหลัง แต่ถ้าไม่รวมวัสดุหรือเจ้าของบ้านต้องซื้อวัสดุเองนั้นต้องพึงระวังว่างบจะบานปลายเอาครับ เพราะบางทีผู้รับเหมาอาจจะคำนวณผิดพลาด หรือถ้าเจอผู้รับเหมาไม่มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ อาจจะนำวัสดุจากการรับเหมาไปใช้กับงานอื่นของเขา ซึ่งถ้าเจ้าของบ้านไม่กำกับดูแลดีๆ อาจจะส่งผลให้ต้องจ่ายเงินไปเกินจริงด้วยครับ

4. สัญญา

การสร้างบ้านต้องมีการทำสัญญาให้ชัดเจน พร้อมมีพยานเซ็นต์กำกับครับ ถึงแม้ผู้รับเหมาจะเป็นคนกันเอง การทำสัญญาก็ยังคงจำเป็นต้องทำอยู่ และการทำสัญญานั้นต้องอ่านสัญญาให้ละเอียด ระบุการเบิกเงินในแต่ละงวดให้ชัดเจน เช่น เริ่มเซ็นต์สัญญาเบิกเท่าไหร่, โครงสร้างเสร็จเบิกเท่าไหร่, ปูกระเบื้องเสร็จเบิกเท่าไหร่, งานสีเสร็จเบิกเท่าไหร่ เป็นต้น ซึ่งอาจจะไม่ต้องละเอียดมาก แต่อย่างน้อยต้องมีเงื่อนไขในการเบิกแต่ละงวดครับ .. และถ้าจะให้ดีควรกำหนดการรับประกันซ่อมให้ฟรีภายในกี่วันตามเงื่อนไขที่ตกลงกับผู้รับเหมาครับ

5. การตรวจรับ

การตรวจรับปกติเจ้าของบ้านมักตรวจรับเอง แต่ถ้าจะให้ดีควรมีผู้ที่มีความรู้มาช่วยดู อย่างว่าครับหลายตาดีกว่าตาเดียว ช่วยกันดูหลายๆคน ก็จะช่วยหาจุดที่ควรซ่อมแซมได้ทันท่วงที ถ้าไม่อยากให้งานตรวจรับมีปัญหาในรอบสุดท้าย เจ้าของบ้านควรทำการหมั่นตรวจเช็คอยู่สม่ำเสมอระหว่างการก่อสร้างด้วย

จริงๆแล้วสิ่งเหล่านี้ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของแต่ละบุคคล หากเคยผ่านกระบวนการสร้างบ้านมาซักครั้งหนึ่งจะรู้กระบวนการเป็นอย่างดี ผู้อ่านอาจจะงงว่าจะผ่านกระบวนการมาได้อย่างไรเมื่อเป็นการสร้างบ้านหลังแรก การผ่านกระบวนการในที่นี้หมายถึงอาจจะเป็นการสร้างบ้านให้พ่อแม่ หรือบ้านของญาติๆ หรือเพื่อนๆ และเราได้เข้าไปคลุกคลีด้วย ก็จะรู้กระบวนการต่างๆเองโดยอัตโนมัติครับ

บทความโดย Webmaster homedd4u.com




แลกเปลี่ยนความคิดเห็น